ผู้เขียนงานวรรณกรรม
มีความแตกต่างและหลาหลายประเภทตามความนิยมและความชอบส่วนบุคคล
ต่างที่จะมีอิสระในการเขียนเรื่องราวโดยการใส่ความคิดอารมณ์และจินตนาการเพื่อที่จะนำเสนอเรื่องราวที่ตนเขียนให้ออกมาโลดแล่นบนเส้นทางสายวรรณกรรม
ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและติดตามผลงานของตนโดยผู้เขียนวรรณกรรมส่วนมากจะนำเหตุการณ์จริงที่ตนได้เคยพบเคยประสบมาด้วยตนเองมาเขียนจะทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในงานวรรณกรรมในเรื่องนั้นเป็นพิเศษและทำให้ผู้เขียนเรื่องนั้นๆเขียนได้ดีและน่าติดตาม
เหมือนวรรณกรรมลูกอีสานที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริงที่ผู้เขียนได้พบเห็นมาที่ผู้เขียนมุ่งเน้นให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงวิถีชีวิตของคนอีสานและเล่าถึงชีวิตช่วงเด็กของผู้เขียนสะท้อนออกมาเป็นเรื่องราว
ชีวิตชนบทแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่สภาวะธรรมชาติ ความสุข ความทุกข์ และการต่อสู้อย่างทรหด
อดทนกับความแปรปรวนของธรรมชาติ
จุดเริ่มต้นของนวนิยาย ลูกอีสาน
ลูกอีสาน
แต่งโดย คำพูน บุญทวี ในรูปแบบ นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2519 ที่สำนักพิมพ์บรรณกิจ ความหนา 290
หน้าหนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทนิยาย ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปีพ.ศ.2519 และรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมรางวัลซีไรท์ดีเด่นประเภทนิยายประจำปี
พ.ศ. 2522 ผู้เขียนซึ่งเป็นชาวอีสานโดยกำเนิดได้นำเอาประสบการณ์และ
เกร็ดชีวิตเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนออกมาเขียน เล่าชีวิตช่วงเด็กในแผ่นดินที่ราบสูงสะท้อนออกมาเป็นเรื่องราว
ชีวิตชนบทแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่สภาวะธรรมชาติ ความสุข ความทุกข์ และการต่อสู้อย่างทรหด
อดทนกับความแปรปรวนของธรรมชาตินับได้ว่าเป็นงานเขียนที่มีค่าต่อการศึกษา สังคมท้องถิ่นอีสานอย่างมากลูกอีสาน
เป็นการนำเอาเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปของนิยาย
โดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ลงในนิตยสารฟ้าเมืองไทย
ช่วงปี พ.ศ.2518 – 2519
เรื่องย่อของลูกอีสาน
ผู้เขียนใช้วิธีการเล่าเรื่องราวโดยผ่านเด็กชายคูน
ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในถิ่นชนบท ของอีสาน แถบที่จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งของไทยชีวิตความเป็นอยู่ของ
ครอบครัวเด็กชายคูน ประกอบด้วยพ่อแม่ และลูก 3
คน และเพื่อนบ้านในละแวกนั้นไม่มีความแตกต่างกันนัก นั่นก็คือ ความจนข้นแค้นต้องหาอาหารตามธรรมชาติทุกอย่างที่กินได้
เมื่อความแห้งแล้งอย่างรุนแรงมาเยือน ครอบครัวเพื่อนบ้านก็เริ่มอพยพออกไป แต่ครอบครัวของเด็กชายคูน
และกลุ่มที่สนิทชิดเชื้อกันยังคงอยู่ เพราะเขามีพ่อและแม่ที่เอาใจใส่
ขยันขันแข็งไม่ย่อท้อภัยและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนมองเห็นความสำคัญของการศึกษา
แม้จะยากจนอย่างไร เด็กชายคูนก็ได้เข้าเรียนในระดับการศึกษาประชาบาล เด็กชายคูนมีเพื่อนสนิทชื่อจันดี
ผู้เป็นคู่หูในการทำอะไรด้วยกันตาม ประสาเด็กผู้ชาย
แล้วยังมีครอบครัวของทิดจุ่นและพี่คำกอง สองสามีภรรยา เป็นต้น
ผู้เขียนได้เล่าถึงขนบธรรมเนียม
ประเพณี ตลอดจนความเชื่อของชาวอีสาน โดยผ่านเด็กชายคูน รวมไปถึงการบรรยายถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คนและสภาพแวดล้อม
เช่น การเกี้ยวพาราสีกันของทิดจุ่นและพี่คำกอง จนท้ายที่สุดก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน
การเดินทางไปหาปลาที่ลำน้ำชีเพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอมเอาไว้กินนานๆ
ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น เรื่องราวทั้งหมด นั้นเน้นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ แสดงวิธีการของการดำรงชีวิตตามธรรมชาติในถิ่นอีสานเป็นสิ่งสำคัญ
นอกจากนั้นยังแทรกความสนุกสนามเพลิดเพลินจากการทำบุญตามประเพณีไว้หลายตอน ด้วย
ได้แก่การจ้างหมอลำหมู่ ซึ่งเป็นหมอลำประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำ ฝ่ายหญิงที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น
ทั้งกลอนลำและการแสดงออกของหมอลำทั้งสองได้สร้างความสนุกสนานครึกครื้นแก่ ผู้ชมที่มาเที่ยวงานอย่างมาก
ลูกอีสานเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา
และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไร
การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น
ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพในระบบอาวุโส
สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในแต่ละตอนของลูกอีสาน ดังที่พ่อของคูนบอกว่า
"เรื่องน้ำใจ
พ่อของคูนเคยสอนคูนเหมือนกันว่าคนมีชื่อนั้นคือ คน รู้จักสงสารคนและช่วยเหลือคนตกทุกข์
ถ้าไม่มีสิ่งของช่วย ก็เอาแรงกายช่วย และไม่เลือกว่าคนๆ นั้นจะอยู่บ้านใด
อำเภอใด"เด็กชายคูน ผู้ชอบสงสัย
ผู้เขียนได้นำเสนอถึงเด็กชายคูนผู้เป็นตัวละครเอกของเรื่องที่มีนิสัย
ชอบสงไสและมีคำที่บ่งบอกว่าเป็นเด็กชายคูนคือคำว่าที่ชอบสงไสเพราะเขาจะมีคำหนึ่งที่ติดปากคือคำว่า
“ทำไม” “ทำไมแม่” “ทำไมพ่อ”
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะวัยของเขาที่เป็นเด็กที่กำลังหัดตั้งคำถามและเป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็น นอกจากคูนจะเป็นคนขี้สงไสแต่เขาก็แอบเป็นคนขี้กลัวอยู่บ้าง
อย่างเช่น คูนกลัวหลวงพ่อเคน ทั้งที่คูนยังไม่เคยคุยด้วยคูนก็ยังกลัว
และสิ่งหนึ่งที่น่ายกย่องในตัวละครเอกเรื่องนี้คือ คูนจะเป็นคนรักครอบครัว รักพ่อ
รักแม่ และน้องๆมาก และทำหน้าที่พี่ชายที่ดีเสียสละให้น้องทั้งสองคนได้
เห็นได้จากป้าบัวศรีเอามะตูมมาให้ น้องของคูนทั้งสองกินข้าวครุกมะตูมแทนการกินข้าวกับปลาร้า
คูนก็ไม่มีท่าทีจะไปแย่งน้องกินเพราะคูคิดว่าตัวเองโตแล้วกินข้าวกับปลาร้าได้แล้ว
อัตลักษณ์ของคนอีสาน
คนอีสานเป็นคนที่มีความเป็นอยู่แบบเรียนง่ายไม่ชอบความวุ่นวายและตั้งใจทำมาหากินต่อสู้กับความยากลำบากถึงจะเป็นพื้นที่แห้งแล้งของภูมิประเทศ
ที่นานทีปีหนฝนจะตก คนอีสานเป็นคนอดทน ต่อสู้ไม่ยอมจำนน
แม้จะแลดูเหมือนสิ้นไร้หนทาง แต่ก็ยังมีความมานะบากบั่นหาอาหาร กินตามมีตามเกิดจนได้
อย่างเช่นที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดผ่านตัวละครในเรื่องถึงจะแห้งแล้งเพียงใดทุกคนก็ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาต่างพากันสู้เพื่อความอยู่รอดของครอบครัว
คนอีสานเป็นคนรักบ้านเกิดมากถ้าไม่จำเป็นจริงๆเขาจะไม่ไปไกลจากบ้านของเขา
ผู้เขียนได้พูดถึงอัตลักษณ์ของคนอีสานไว้มากมายโดยสื่อผ่านตัวละครในเรื่อง
ไม่วาจะเป็นการใช้ชีวิตของคนอีสาน การพูดที่บ่งบอกถึงเผ่าพันธุ์ว่าเป็นคนอีสาน
และวิถีชีวิตที่คนอีสานที่ตัวละครถ่ายทอดออกมาทำให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงการเป็นคนอีสานอย่างแท้จริง
อัตลักษณ์ถิ่นอีสานในเรื่องสั้น ลูกอีสาน
ภาษาถิ่นอีสานอัตลักษณ์ที่ต้องดำรงไว้
จากเรื่องผู้แต่งได้ สอดแทรกคำอีสานลงในเนื้อหาและคำพูดที่ตัวละครใช้พูดกันในเรื่อง
เช่น คำว่าเป็นหยัง เว้ากัน
พวกเฮา นุ่งโสร่ง
แคร่ บ่วงซดน้ำแกง
แม่นแล้ว ข้อย
เอื้อยคำกอง
ซึ่งคำเหล่านี้ถ้าไม่ใช่คนอีสานด้วยกันจะฟังมารู้เรื่องและพูดไม่เป็น
คนอีสานไม่ว่าจะไปอยู่ไหนก็ยังคงอนุรักษ์ภาษาบ้านเกิดตนเองไว้
ซึ่งถือว่าภาาษาพูดเป็นสิ่งสำคัญในการบ่งบอกว่าเป็นคนอีสานอย่างแท้จริง
ความศัทธาของคนอีสาน
อีกสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกว่าเป็นคนอีสานคือความศัทธาของตัวละครในมีความศรัทธา เลื่อมใส่
ศิลปวิทยาการของครูบาอาจารย์สำนักหลวงพระบาง ซึ่งอยู่ในฝั่งลาวปัจจุบัน
มีความศรัทธาในพระแก้วมรกต และชาวบ้านก็ยังจำเรื่องเล่าได้ว่า
พระแก้วมรกตเคยอยู่เวียงจันทน์ และย้ายมาอยู่ในกรุงเทพ
รวมถึงศรัทธาพระธาตุพนมที่นครพนม เรื่องเล่าประวัติศาสตร์การสร้างเมืองอุบลของพระวอพระตา
เรื่องราวก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ก็ยังเป็นที่จดจำและเป็นเรื่องเล่าที่ตอกย้ำซ้ำเติมความเป็นอัตลักษณ์
ของความเป็นคนอีสานนั่นเอง
ภาพสิ่งแวดล้อมและลักษณะบ้านเรือน
มีเรือนเสาไม้กลมหลังหนึ่ง
ยืนอาบแดดอันร้อนละอุอ้าวอยู่ใต้ต้นมะพร้าวอันสูงลิ่ว เรือนหลังนี้อยู่ในหมู่บ้านทางภาคอีสานแห่งหนึ่ง
ทุกครัวเรือนจึงมีสภาพเหมือนกัน คือมียุ้งข้าวอยู่ใกล้ตัวเรือน และคอกวัวคอกควายอยู่ใต้ถุนเรือน
รอบๆหมู่บ้านก็เป็นทุ่งนาและหนองน้ำซึ่งจะแห่งขอดบ่อยๆ เลยหนองน้ำไปอีกหน่อยก็จะเป็นป่าโปร่ง
ที่ชาวบ้านเรียกว่า โคกอีแหลว
วันไหนแดดร้อนจัดจะไมมีเด็กๆวิ่งในถนนเพราะพื้นดินส่วนมากเป็นทราย
แต่การไปมาที่ไหนๆก็เดินด้วยตีนเปล่า
ข้อความข้างต้นผู้เขียนได้บรรยายถึงลักษณะบ้านเรือนของคนในหมู่บ้านทางภาคอีสานสมัยก่อนว่ามีลักษณะบ้านเรือนเป็นอย่างไร
ที่ทำให้ผู้อ่านจินตนาการณ์เห็นภาพลักษณะบ้านเรือนในเรื่องและภาพบรรยากาศรอบๆหมู่บ้านในสมัยนั้นการเข้าไปหาอาหารในป่าของคูนกับพ่อหน้าแล้ง
ผู้แต่งนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสานในการไปหาอาหารในป่าช่วงฤดูที่ร้อน(หน้าแล้ง)ซึ่งทุกครอบครัวต้องเข้าป่าไปหาของป่าล่าสัตว์ป่าเพื่อนำมาเป็นอาหารและนำมาเก็บไว้กินมื้อต่อไป ครอบครัวของคูนก็เป็นครอบครัวหนึ่งซึ่งฐานะก็ไม่ค่อยจะดีแต่พ่อของคูนก็ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวที่ดี ผู้แต่งชี้ให้เห็นถึงช่วงดูร้อน ฝนไม่ตกมานานแล้วทำให้ทุ่งนานแห้ง แหล่งน้ำแห่งขอด ปลูกอะไรก็ตายหมดเพราะไม่มีน้ำรด ถ้าไม่มีน้ำแหล่งอาหารก็ไม่มีจึงทำให้ชาวบ้านดิ้นรนไปหาอาหารในป่าที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านแต่การเข้าไปหาของป่าล่าสัตว์ป่าก็ไม่มีอะไรที่จะรับประกันว่าการเข้าป่าทุกครั้งถ้าโชคดีก็จะได้อาหารกลับมาไม่มากก็น้อยเพราะฤดูร้อนสัตว์ป่าก็จะพากันอบพะยบไปหาป่าที่มีแล่งน้ำและพืชผักก็ไม่มีน้ำทำให้ตายในที่สุด ไม่ว่าคนหรือสัตว์ต่างก็ดิ้นร้นเอาตัวรอดทั้งนั้นและผู้เขียนยังสื่อให้เห็นถึงการเข้าป่าของชาวบ้านว่าชาวบ้านต้องเอาอุปกรณ์อะไรบ้างในการเข้าป่าไปล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นไม้หน้าผา ลูกศร และที่ใส่อาหาร และวิธีการล่าสัตว์ของคนในภาคอีสาน ซึ่งชี้ให้ผู้อ่านเห็นถึงวิธีการทำมาหากินของคนในภาคอีสานถึงฝนจะไม่ตกน้ำจะแห้งขอดแต่ทุกคนก็พยายามไปหาอาหารเพื่อที่จะได้นำมาเลี้ยงดูคนในครอบครัว เหมือนพ่อของคูนกับคูนที่กำลังจะเข้าป่าไปหาอาหารมาไว้ให้ครอบครัวได้กินมื้อต่อๆไป ดังเนื้อเรื่องตอนหนึ่งที่ว่า
เด็กน้อยคูนไม่เคยไปเที่ยวป่าหรือโคกสักหน เพราะแม่รักคูนมากไม่อยากให้คูนลำบาก แต่คูนก็ได้ไปกับพ่อจนได้ในวันหนึ่ง แม่จัดข้าวห่อกับแจ่วปลาร้าใส่พายผ้าขาวม้าให้พ่อ แล้วพายี่สุ่นและบุญหลายน้องหญิงของคูนลงเรือนไป พ่อปลดหน้าไม้กับกระบอกลูกศรลงมาแบกไว้บนบ่าขวาสะพายข้องสำหรับใส่จักจั่นขึ้นบ่าซ้าย แล้วบอกให้คูนไปหยิบเอากระบอกตังสำหรับติดจักจั่นที่พ่อทำด้วยยางข่อยปนน้ำมันยาง คูนดีใจมากเพราะไม่เคยไปเที่ยวป่า เมื่อลงเรือนไปไอ้มอมกับไอ้แดงหมาสองตัวก็ร้องขึ้นเอ๋งๆเพราะมันรู้ว่าจะได้เข้าป่าไล่พังพอนหรืออีเห็นกันอีก ถึงโคกหนองใหญ่ตะวันเกือบจะตรงหัวเพราะคูนเดินช้าไม่เหมือนพ่อ ยิ่งเห็นเด็กหนุ่มๆเดินสวนทางมีเสียงจักจั่นร้องระงมอย่างเต็มข้อง คูนก็ยิ่งเสียใจเพราะจั๊กจั่นคงไม่มีให้จับอีกแล้ว และก็เหมือนคูนคิดไว้จริงๆ วันนี้คูนกับพ่อติดจักจั่นไม่ได้ถึงสิบตัวเพราะหมาสองตัวมันวิ่งนำหน้าไปก่อน ทำให้จักจั่นเงียบเสียงเสียหมด เมื่อพ่อเห็นคูนถอดไม้เล็กๆออกจากแส้ไม้ไผ่ยาวๆออกจุ่มตังบ่อยๆพ่อก็บอกว่า
“อย่าจุ่มบ่อยนักมันจะหมด อ้อมไปทางหนองน้ำหายิงนกดีกว่า”
คูนนั่งลงบนขอนไม้ บอกว่าพ่อกินข้าวเถอะ พ่อ พ่อจึงไปเด็ดยอดกระโดนอ่อนๆมากำใหญ่ แก้ห่อข้าวออกแล้วล้วงจั๊กจั่นในข้องออกมาหยิกหาให้มันตายทีละตัว
“เด็ดปีกเด็ดขาออก แล้วรีดไขมันออกอย่างนี้เสียก่อน ค่อยๆกินตัวมัน”
พ่อสอนพลางเอาใบกระโดนอ่อนๆ ห่อจักจั่นแล้วจิ้มแจ่วส่งเข้าปากเคี้ยวกรุบๆคูนทำตามพ่อแล้วรู้สึกอร่อย เพราะหัวจักจั่นมีรสมันใบกระโดนมีรสฝาดและแจ่วมีรสทั้งเผ็ดทั้งเค็มเข้ากันพอเหมาะ
“ทีหลังพ่อจะมากันกลางคืน” พ่อว่า
“มาจับตอนกลางคืนจะเห็นตัวมันหรือ” คูนสงสัย
“ไม่ต้องให้เห็น ต้นไม้ต้นไหนมรจักจั่นอยู่มากๆ พ่อรู้ คือใต้ต้นไม้จะเย็นผิดปกติและมีเยี่ยวของมันโปรยลงมาเป็นฝอยถูกตัวเราเราจะรู้สึกเย็นแล้วพ่อก็โค่นต้นไม้ลง”
“มันไม่บินหนีหมดหรอ” คูนซัก
“ไม่บิน มันมองยามกลางคืนไม่เห็น พอต้นไม้ล้มลง พ่อจุดใต้ขึ้นส่องเก็บใส่ข้องเลยหละ” พ่อว่า
หมู่บ้านของคูณฝนไม่ตกเป็นเวลานานทำให้หนองน้ำแห้งขอดจนไม่มีปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆอาศัยอยู่เลยและทุกครอบครัวในหมู่บ้านก็มีวัตถุดิบชั้นเลิศอย่างเดี่ยวกันนั่นคือปลาร้าและวัตถุดิบทุกคนในครอบครัวก็ใกล้จะหมดแล้วเพราะเหตุเกิดจากฝนไม่ตกทำให้ไม่มีปลาในการทำปลาร้า ปลาร้าถือว่าเป็นอาหารหลักในครอบครัวก็ว่าได้
เพราะถ้าวันไหนที่หาอาหารมาไม่ได้ก็ต้องเอาปลาร้าในไหมาทำกลับข้าวกิน
ปลาร้าทำอาหารได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ลาบปลาร้า
แจ่วปลาร้า พ่อของคูนและในหมูบ้านก็ชวนกันไปหาปลาเพื่อที่จะนำมาทำปลาร้า ปลาส้ม หม่ำปลา หม่ำไข่ปลา ปลาแห้ง
เอาไว้กินนานๆและเอาไปแลกข้าวเปลือกมาไว้กินเพราะข้าวของคนในหมู่บ้านเหลือไม่เยอะพอที่จะกินถึงหน้าทำนาและก็ไม่รู้ว่าฝนจะตกมาให้ทำนาตอนไหนทุกคนก็ต้องลำลองข้าวไว้เยอะๆ
การออกเดินทางในการไปหาปลาสมัยนั่นจะไปโดยใช้วัวเทียมเกวียนและต้องไปกันหลายๆคนเพราะป้องกันโจรปล้นกลางทางและการที่จะไปหาทุกคนในครอบครัวต้องไปด้วยกันทุกคนเพราะการไปหาปลาต้องไปที่มีแม่น้ำใหญ่ๆมีปลาเยอะแต่ต้องใช้เวลาหลายวันที่จะไปถึงจุดหมายทุกครอบครัวต้องเตรียมอุปกรณ์และเครื่องครัวไปให้พร้อม
ไม่ว่าจะเป็น ข้าวสาร หม้อ ครก อุปกรณ์ในการทำครัว และที่ใส่ปลาและอาหารต่างๆ
อัตคติของคนอีสานกับคนต่างชาติ
ผู้แต่งได้นำเสนอถึงมุ่มมองของคนในหมู่บ้านของคูนที่ไม่ชอบชาวต่างชาติและคนญวนที่เข้ามาค้าขายทำมาหากินมในหมู่บ้านของเขาเพราะเขาเห็นว่าเวลาคนญวนมาขายของในหมู่บ้านและหาบขายของในหมู่บ้านเขาแล้วเอาเงินไปหมดและมากอบโกยเอาแต่ผลประโยชน์เข้าไปเมืองของคนญวนจึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ชอบคนญวนครอบครัวคูนก็เป็นครอบครัวหนึ่งที่ไม่ค่อยชอบคนญวนโดยเฉพาะพ่อและปู่ของคูนที่ไม่ชอบคนญวน และเด็กในหมู่บ้านก็พากันกลัวคนญวน เพราะคนญานฟันดำ น่ากลัว ดังคำพูดของตัวละครในเรื่องที่บ่งบอกว่าไม่ชอบคนญวนที่มาค้าขายในหมู่บ้านของตนและไม่อยากให้คนในหมู่บ้านยุ่งเกี่ยวกับคนญวน แต่วันนั้นคนญวนได้ซื้อไข่ไก่กับแม่ของคูนและให้แม่ของคูนตามไปเอาเงินที่ร้าน จึงมีประโยคหนึ่งที่คนในหมู่บ้านพูดกับมาของคูนโดยบ่งบอกชัดเจนว่าไม่ชอบคนญวน
“ขายให้มันทำไมพวกคนแกวคนญวน” เจ๊กอู๋ว่า
“ฉันสงสารมันที่ไม่มีกับข้าว ” แม่คูนบอก
“ที่หลังอย่าขายให้มัน มันขนเงินไม่เมืองญวนหมดไม่เหมือนอั๋วที่อยู่แต่ที่นี้ ใครไม่มีปลาร้า สี ย้อมผ้า ก็มาเอาไปก่อนก็ได้”เจ๊กอู๋ว่า
แม่พยักคอรับ
ความเป็นอยู่ที่แตกต่างของคนรวยกับคนจน
ซึ่งผู้แต่งได้นำเสนอให้เห็นถึงข้อแตกต่างของคนรวยและคนจน
โดนผ่านตัวละครเอกในเรื่องคือคูนผู้ชอบสงใส
โดยเหตุการณ์ที่ผู้แต่งมุ่งนำเสนอให้เห็นถึงข้อแตกต่างของคนรวยกับคนจน
คือตอนที่คูนเดินไปร้านคนญวนกับแม่เพื่อจะไปเอาเงินค้าไข่ไก่แล้วคูนเห็นคนญวนกำลังซดน้ำต้มไก่ด้วยช้อนสังกะสีสีเขียวแล้วคูนจึงสะกิดถามแม่ด้วยความสงใสเพราะคูนไม่เคยเห็นที่บ้านของคูนก็ไม่มีช้อนแบบนี้
แม่คูนบอกว่าเป็นช้อนสังกะสี (บ่วงสังกะสี)
สำหรับคนมีเงินหรือคนรวยถึงจะมีเงินซื้อช้อนแบบนี้ใช้ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า
“นั้นมันบ่วงอะไรนะแม่”
คูนสะกิดถามแม่พรางชี้ไปที่ลุงญวนกำลังเอาช้อนสีเขียวตักน้ำต้มไก่
“บ่วงสังกะสีนั่นแหละ”
“ทำไมแม่ไม่ซื้อไปใช้บ้าง
ที่เรือนเราให้แต่หอยกาบทำบ่วงนะแม่”
“เออ มีสตางค์จะซื้อไปใช้”แม่ว่าเบาๆ
ซึ่งจากข้อความข้างตนก็เห็นได้ว่าการเป็นอยู่ของคนที่มีเงินมีฐานะดีแต่งต่างกับคนจนยิ่งนักไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินอุปกรณ์ในครัวและภาชนะการใส่อาหารต่างๆก็แตกต่างกันเหมือนผู้แต่งถาดทอดอารมณ์ความรู้สึกของคนจนผ่านครอบครัวของคูนอยากเห็นได้ชัดเจนที่ครอบครัวของคูนยังต้องใช้เปลือกหอยกาบมาทำช้อนในการซดน้ำแกงการทำถ้วยก็ทำจากดินแล้วนำมาเผาไฟซึ่งแตกต่างกับคนมีเงินที่มีของดีๆใช้ในครอบครัว
การจีบสาวในสมัยก่อน
ผู้เขียนได้สอดแสรกเนื้อหาและชี้ให้เห็นวิธการจีบสาวของคนในสมัยก่อนที่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากสมัยนี้ซึ่งคนสมัยก่อนไม่มีโทรศัพท์ใช้ไม่มีรถขี่เหมือนสมัยนี้และการไปจีบสาวแต่ละครั้งก็ต้องอยู่ในสายตาผู้ใหญ่และอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่นำไปทุกครั้งในการจีบสาวนั้นก็คือแคน
โดยที่ผู้บ่าวที่จะไปจีบสาวต้องเป่าแคนไปคุยตอนกลางคืนถือได้ว่าเป็นสัญญาลักษณ์อย่างหนึ่งในการไปจีบสาว
ดังข้อความตอนหนึ่งที่ว่า
“เอื้อยคำกลองสวยกว่าเก่า แต่ไม่มาเล่นด้วยข่อยนานแล้ว” คูนต่อว่า
“โธ่ คูนเอย เฮาเป็นพี่น้องกันก็ยังฮักกันดีอยู่
แต่ไม่มีเวลามาหากัน”เอื้อยคำกลองว่าเบาๆ
“ก็คำกลองเป็นสาวแล้วนี่ จะให้มาเล่นหัวกับลูกได้ยังไง”แม่ว่า
“เป็นสาว แล้วก็…มีผู้บ่าวมารัก
ผู้บ่าวเป่าแคนไปคุยกันตอนกลางคืนใช่ไหม”คูสนถามดังๆ
“แม้นแล้วลูกเอ๋ย เป็นผู้สาวแล้วต้องมีผู้บ่าว”
บทบาทผู้หญิงสมันก่อน
บทบาทผู้หญิงในเรื่องที่ผู้แต่งนำเสนอให้เห็นถึงเนื้อหาที่บ่งบอกถึงหน้าที่ของผู้หญิงในเรื่องที่หน้าที่ผู้หญิงก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ
คำนำหน้านั้นๆเช่น ผู้หญิงที่ชื่อว่าเป็นแม่
ผู้หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นเมีย
ผู้หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกสาว
ซึ้งคำนำหน้าเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงหน้าที่ชัดเจนของผู้หญิงแต่ละคน
เช่นแม่ของคูนจะทำหน้าที่เป็นทั้งภรรยาและแม่ ซึ่งจะเห็นได้จากการทำกับข้าวการทำงานบ้าน
ปณนิบัติ สามีหน้าที่ของภรรยาที่ดี และทำหน้าที่ของผู้เป็นแม่ที่ดีด้วยการเลี้ยงดูเอาใจใส่ลูกๆด้วยความรักความทนุถนอมให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูกๆ
ดังข้อความตอนหนึ่งที่แม่ของคูนทำหน้าที่ภรรยาและแม่ที่ดีในเวลาเดี่ยวกัน
“ เด็กน้อยคูนไม่เคยไปเที่ยวป่าหรือโคกสักหน
เพราะแม่รักคูนมากไม่อยากให้คูนลำบาก
แต่คูนก็ได้ไปกับพ่อจนได้ในวันหนึ่ง
แม่จัดข้าวห่อกับแจ่วปลาร้าใส่พายผ้าขาวม้าให้พ่อ
และพายี่สุ่นและบุญหลายน้องหญิงของคูนลงเรือนหายไป ”
และพูดถึงการออกไปทำงานนอกบ้านของพ่อการทำกับข้าวของแม่ของคูน
“
พ่อไปตักหญ้าคามาไว้ผูกเป็นตับเพื่อเปลี่ยนหลังคาเรือนยามฝนจะมาคูนอยากไปกับพ่ออีกเพื่อตัดจักจั่นและจับงูสิง
แต่พ่อบอกว่าไม่ให้ไปจึงเข้าไปในครัวหาแม่”
“พ่อไปตัดหญ้าคาอย่างเดี่ยว ถ้าไปเที่ยวโคกพ่อจะเอาไปด้วย”แม่ว่า
คูนดีใจมาก
จึงนั่งลงเพื่อจะช่วยแม่ทำแจ่วปลาร้าใส่ข้าวห่อให้พ่อแต่วันนี้แม่ทำลาบปลาร้าให้พ่อ แม่บอกว่าไม่มีเวลาขึ้นโคกไปหา
จักจั่นหรือคล้องกิ้งกามาทำกินจึงทำลาบปลาร้าให้
คือถึงเวลาจะกินพ่อก็ไปหาเด็ดยอดกระโดดหรือยอดสะเดาจิ้มลาปลาร้าเท่านั้น
และผู้หญิงสมัยก่อนจะเป็นคนทำงานบ้านทุกอย่างภายในบ้านจะเป็นคนทำอาหารทำกับข้าวให้ลูกและสามีกินเพราะสามีจะเป็นคนที่ไปทำงานนอกบ้านและหาอาหารมาให้ภรรยาเป็นคนทำ
และผู้หญิงในสมัย ก่อนจะถือว่าผู้ชายหรือสามีของตนเป็นผู้นำตนต้องเคารพและอยู่ในโอวาสของสามี
ซึ่งจะแตกต่างกับผู้คนสมัยนี้ที่ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็มีสิทธ์เท่าเทียมกันผู้ชายทำงานนอกบ้านได้ผู้หญิงก็ทำได้จนทำให้ผู้ชายและผู้หญิงมีบทบาทเท่ากันในสังคมประจุบัน
งานบ้านทุกอย่างก็ต้องช่วยกันทำ จนบ้างครั้งแทบไม่รู้เลยว่าใครเป็นผู้นำใครเป็นผู้ตาม
บทบาทและหน้าที่ของผู้ชาย
ผู้ชายในสมัยก่อนจะมีหน้าที่สำคัญที่ต้องทำสองอย่างเพื่อที่จะบ่งบอกว่าเป็นลูกผู้ชายคือการเกณฑ์ทหารและการบวชเรียนหรือบวชทดแทนพระคุณของพ่อแม่
ก่อนถึงจะมีครอบครัวได้
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ชายในสมัยก่อนหรือผู้ชายปัจจุบันต่างก็ต้องทำสองอย่างนี้เพื่อบ่งบอกถึงการทำหน้าที่ของลูกผู้ชายได้สมบูรณ์และถ้ามีครอบครัวก็ต้องทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวไห้ดีที่สุด
ถ้ามีลูกก็ต้องงทำหน้าที่ของพ่อให้เต็มที่
การยึดถือหลักการดำเนินชีวิตตามประเพณี
ศีลธรรม
โดยผู้แต่งจะพูดถึงความรักของหนุ่มสาว
ผู้หญิงสมัยก่อนจะถือตัวมากจะไม่ยอมให้เข้าใกล้ตัวและถูกเนื้อต้องตัวกันโดยที่ไม่ได้แต่งงานก่อน
ผู้หญิงจะกลัวพ่อกับแม่ด่าถ้ารู้ว่าผู้ชายที่เข้ามาจีบมาแตะเนื้อต้องตัว
ผู้แต่งจะสื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของการกระทำของตัวละครในการทำผิดประเพณีหรือการผิดผี
และการได้เสียกันก่อนการแต่งงานการสู่ขอกันตามประเพณี
ซึ่งพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะโกรธมากถ้าลูกสาวของเขาและแฟนหนุ่มไม่ทำตามประเพณี
ผู้เฒ่าผู้แก่จะถือว่าสองคนนี้ทำผิดผี ต้องจัดงานสู้ขอแต่งงานให้ถูกต้องตามประเพณี เหมือนตัวละครในเรื่อง คือคำกอง และ ทิดจุ่น
ที่ทั้งสองคนรักกันแต่ไม่ไปสู้ขอกันตามประเพณีแต่กลับลักลอบไปหากันไปนอนด้วยกันก่อนการแต่งงานต้อนกลางคืน
และพ่อของฝ้ายหญิงจับได้ฝ้ายชายจึงต้องไปบอกพ่อแม่ให้มาสู้ขอให้ถูกต้องตามประเพณี
เพราะการผิดผีนี้จะทำให้ผีปู่ย่ายายโกรธ และทำให้ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ตลอด
ดังนั้น ทิดจุ่นต้องขอขมามาทางพ่อแม่ฝ้ายหญิงที่ตนทำผิดประเพณีที่แอบมาหาลูกสาวของเขาในตอนกลางคืน
ดังข้อความบทหนึ่งของตัวละครที่ทำผิดประเพณี(ผิดผี)ก่อนการแต่งงาน
วันใหม่ต่อมาคูนก็ตื่นขึ้นตอนเช้ามืดอีกครั้งเพราะมีเสียงป้าขาวเมียลุงใหญ่มาเรียกพ่อให้เปิดประตูไวๆเมื่อพ่อเปิดประตูป้าขาวจึงบอกพ่ออย่างตื่นเต้นว่า
“ควายเขามาเข้าสวนเราแล้ว
พ่อคูนเอย”
“ควายตัวไหน
ของใคร” แม่ถามก่อนพ่อ
“ก็ควายของลุงเมฆนั้นแหละ”ป้าขาวว่า
“เดี๋ยวนี้มันอยู่ไหน”พ่อถามต่อ
“ยังอยู่ในห้องอีคำกองนั่นแหละ
พ่ออีคำกองยืนถือพร้าขวางประตูไว้ แล้วให้ข้ามาบอกพี่ๆน้องๆ”
คูนจับใจความได้ว่าทิดจุ่นลูกชายลุงเมฆไปนอนกับเอื้อยคำกองในห้องตั้งแต่มื้อคืน
พอถึงยามไก่กระโดดลงจากคอนเอื้อยคำกองก็บอกแม่ให้รู้ว่าทิดจุ่นเข้านอนด้วยเมื่อลุงใหญ่ผู้พ่อรู้เรื่องก็ฉวยอีโต้ไปยืนขวางประตูไว้
เพื่อไม่ให้ทิดจุ่นโดดเรือนหนีเหมือนที่ทำกับลูกสาวคนอื่นๆ
ย่าของคูนหยิบผ้าสีแดงปนดำขึ้นเช็ดปาก
แล้วพูดว่า
“ชายหญิงจะเป็นผัวเมียกันมีสามอย่าง
คือสู่ขอกันแล้วแต่งตามพิธี กับชวนกันหนี และชู้กันอย่างทิดจุ่นชูคำกองนี่”
ย่าพูดต่ออีกว่า
“ถ้าผู้สาวไปชูผู้บ่าวที่เรือนผู้บ่าว ผีปู่ย่าตายายโกรธมากกว่าผู้บ่าวชูผู้สาว
ถ้าไม่เสียควายเผือกหนึ่งตัวก็กับควายดำหนึ่งตัว
ฝ่ายสาวจะฉิบหาย จะอดอยากและได้ไข้ เพราะผีปู่ย่าตายาย มาทำ”
ให้ทิดจุ่นขอขมาฝ่ายเราเสีย
เพราะไหนๆพวกเรารู้กันแล้ว
ทิดจุ่นก็ได้ถือพานที่มีดอก
ผ้าขาวม้า และธนบัตร ไปวางลงต่อหน้าลุงใหญ่แล้วก้มฟังลุงใหญ่พูด
ต่อมาทิดจุ่นก็ก้มลงที่ป้าขาวอีก ต่อจากนั้นก็มาก้มลงที่พ่อแม่ของคูน เมื่อลุงใหญ่พูดดังๆว่าให้ไปไหว้ย่าด้วย
ทิดจุ่นจึงไปหาย่าที่นั่งเช็ดน้ำตาอยู่
“ย่าพูดว่า
ทิดจุ่น บวชเรียนมาแล้วเชื่อว่าจะเป็นพ่อเรือนไปจนเฒ่าจนแก่
ถึงจะยากจนก็ให้มีใจกุศล ไม่มีของทำบุญทำทานเอาแรงทำก็ได้”
ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนสมันก่อนจะเคร่งครัดในหลักศิลธรรมการปฏิบัติตนต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักประเพณี
ถ้ารักกันชอบกันก็ควรจะเข้าตามตอกออกทางประตูไปสู้ขอกันตามประเพณีไม่ใช้ชิงสุกก่อนห่ามแอบลักลอบมานอนด้วยกันตอนกลางคืนโดยยังไม่ได้แต่งงานเหมือนที่ทิดจุ่นทำกับคำกอง และพฤติกรรมของ
คำกองและทิดจุ่นก็ทำให้พ่อแม่และญาติพี่น้องเสียใจ
ประเพณีวันสำคัญและงานบุญต่างๆ
ผู้เขียนได้ถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เห็นถึงประเพณีวันสำคัญของคนอีสาน
และคนอีสานจะให้ความสำคัญกับประเพณีงานบุญมากและวันสำคัญต่างๆทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งจะเห็นได้จากวันสำคัญในเรื่องนี้คือวันสงกรานต์ที่คนไทยจะให้ความสำคัญวันนี้มากเพราะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยและวันสงกรานต์เป็นอีกวันหนึ่งที่ทุกคนต่างรอคอยเพราะเป็นวันที่ทุกคนต้องหยุดการทำงานทุกอย่างและมาฉลองมีการละเล่นเพื่อหาความสุขสนุกสนานหลังจากการทำนาทำงานมาอย่างเหน็ดเหนื่อย และเป็นอีกวันหนึ่งที่ทุกคนในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกันและญาติพี่น้องได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน
มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ผู้สูงอายุเพื่อขอพร และสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด ดังข้อความตอนหนึ่งที่พูดถึงการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
แล้ววันสงกรานต์ก็มาถึง
พ่อปลุกคูนและน้องๆให้ลุกขึ้นก่อนตะวันขึ้นคูนล้างหน้าล้างตาแล้วไปดูแม่ที่หยิบขวดน้ำหอมเล็กๆเหยาะลงในขันน้ำทองเหลืองใบใหญ่
“น้ำอะไรนะแม่
หอมแท้”คูนถาม
“น้ำอบขวดนี้แม่เอาผ้าอีโป้สองผืนแลกกับคนญวนไว้สามปีแล้ว”
“เดี๋ยวเราจะไปรดน้ำย่ากับพ่อ”
วันนี้แม่แต่งตัวสวยกว่าทุกวัน
เมื่อขึ้นไปบ้านย่า
ย่านั่งน้ำตาไหลอยู่บนบ้านบอกว่าคิดถึงปู่ที่ตายไปก่อน
พ่อฉวยขันน้ำจากมื่อแม่แล้วยกขึ้นเทราดลงที่บ่าย่าค่อยๆ ย่าพูดกับพ่อหลายอย่าง ต่อจากนั้นแม่ก็ทำเหมือนพ่อบ้าง
แล้วส่งขันน้ำให้คูนกับยี่สุ่นรดย่าอีก
คูนจำคำพูดของย่าได้บางตอนว่า
ขอให้พ่อแม่และคูนกับน้องๆมีอายุนานๆ
เกิดชาติหน้าก็ให้เกิดที่มีดินดำน้ำชุ่ม
และสิ่งที่ปรากฏในข้อความดังกล่าวไม่ใช่แค่ภาพบรรยากาศการรดน้ำดำหัว
แต่ยังสื่อให้เห็นถึงแลกเปลี่ยนสินค้าโดยที่ไม่ได้ใช้เงิน
แต่เป็นการแลกเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ที่เรามีอยู่แล้วไปแลกกับสิ่งที่เราอยากได้โดยไม่ได้ใช้เงินซื้อ
อย่างเช่น “แม่ของคูนเอาผ้าอีโป้สองผืนแลกกับน้ำอบของคนญวน”
และอีกตอนหนึ่งที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดภาพเหตุการณ์ในการละเล่นในวัดและการสรงน้ำพระพุทธรูปในวัด ดังข้อความดังกล่าวที่ว่า
“ที่ลานวัดตอนเย็น
เด็กๆกำลังวิ่งเล่นกันอยู่หลายคนที่ลานพระพุทธรูปใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใบโกร๋น มีหญิงสาวและไม่สาวรดน้ำพระพุทธรูปอยู่มีเด็กหลายๆคนพากันลอดเข้าไปอาบน้ำที่ไหลลงข้างล่าง”
การเรียนเป็นสิ่งสำคัญ
การศึกษาเล่าเรียนไม่ว่าจะเป็นจะอยู่ในยุคไหนสมัยไหนก็ตามไม่ว่าจะรวยหรือจนทุกคนก็ต้องศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่จะได้มีความรู้เพื่อการดำเนินชีวิตต่อไปความรู้จะเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินของคนเราและทำให้ผู้ที่เรียนได้รู้จัก
ผิด ชอบ ชั่วดี เป็นสิ่งที่จะยกระดับครอบครัวให้ดีขึ้น
เหมือนผู้เขียนได้ถ่ายทอดผ่านตัวละครในเรื่องถึงแม้หมู่บ้านของเขาจะแห้งแลงอยู่แบบตามมีตามเกิดแต่พวกเขาก็ให้ความสำคัญกับการเรียนหนังสือ
ถึงแม้สมัยก่อนอุปกรณ์ในการเรียนจะไม่พอและครูก็มีน้อย โรงเรียนจะอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองพวกเขาก็ยังเห็นการเรียนเป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตและสมัยก่อนครูที่โรงเรียนมีไม่พอหลวงพอที่วัดก็จะไปช่วยสอนเด็กนักเรียนที่ไปเรียนจะได้ความรู้หลายอย่างไม่ว่าจะได้ความรู้ทางทฤษฎี
หลักธรรมคำสอน และการใช้ชีวิต การเรียนเป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตเพราะจะได้มีความรู้ติดตัวเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพตน
อำนาจอธิปไตยของรัฐไทย
เนื้อเรื่องลูกอีสานผู้เขียนยังบ่งบอกให้เห็นถึงเพลงชาติสมัยก่อนว่ามีเนื้อหาที่แตกต่างกันกับสมัยนี้มากเพลงชาติสามารบ่งบอกให้รู้ถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐไทย
"ความเป็นไทย"ลงไปยังบนวิถีชีวิตคนพื้นถิ่นได้ไม่ชัดเท่าใดนัก
อาจจะเป็นช่วงแรกที่รัฐไทยเพิ่งสถาปนากลไกการปกครองของรัฐจากส่วนกลาง เพลงชาติก็ยังเป็นเพลงชาติเพลงเก่า ดังข้อความตอนหนึ่งของเพลงชาติที่ว่า
“แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง”
คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องลูกอีสาน
ลูกอีสานถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ดีมีคุณค่าและทุกคนควรอ่านเพราะนอกจากจะเป็นวรรณกรรมที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของคนอีสานและความเป็นอยู่ของคนอีสาน
การใช้ชีวิต การทำมาหากิน ซึ่งจะสรอดแทรกเนื้อหาที่ตลกขบขันและยังแฝงเนื้อหาหลักธรรมคำสอนไว้ต่างๆมากมายไม่ว่าจะสอนให้รู้จักความกตัญญูต่อพ่อแม่
ความเสียสละ ความมีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขยันทำมาหากิน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ตัวอย่างคำสอนของพ่อที่สอนคูน
"เรื่องน้ำใจ พ่อของคูนเคยสอนคูนเหมือนกันว่าคนมีชื่อนั้นคือ คน รู้จักสงสารคนและช่วยเหลือคนตกทุกข์
ถ้าไม่มีสิ่งของช่วย ก็เอาแรงกายช่วย และไม่เลือกว่าคนๆ นั้นจะอยู่บ้านใด
อำเภอใด"
คำสอนที่หลวงพ่อสอนคูน “หลวงพ่อ บอกว่า คูนอย่าเกลียดฟ้า แม้ฟ้าจะไม่ได้ให้ฝน
จนผืนดินแล้งไปหมด ที่คนเราเป็นทุกข์ นั้นเป็นเพราะคนเป็นสาเหตุเอง
ฟ้าไม่เคยทำให้ใครต้องทุกข์
นั่นหมาย ความว่าหลวงพ่อสอนให้คูนเป็นคนอดทน และต่อสู้ชีวิต ไม่ยอมจำนน ต่อความยากลำบาก”
นั่นหมาย ความว่าหลวงพ่อสอนให้คูนเป็นคนอดทน และต่อสู้ชีวิต ไม่ยอมจำนน ต่อความยากลำบาก”
ที่มา คำพูน
บุญทวี.(2552).ลูกอีสาน.พิมพ์ครั้งที่50.กรุงเทพ:โป๊ยเซียน.
วิจารณ์โดย
นางสาว อริญาพร จ่าบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น